อีอีซี ลุยเซ็นสัญญาอู่ตะเภา

28 เม.ย. 2563 624 0


          อีอีซีลุยเซ็นสัญญาสนามบินอู่ตะเภา เร่งชงผลเจรจากับเอกชนเข้าที่ประชุม กพอ.เร็วๆ นี้ ตั้งเป้าเป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 สนับสนุนการค้าและโลจิสติกส์ เกิดการจ้างงาน พร้อมให้รัฐรับภาษีอากรเพิ่ม
          นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรม การนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือ กพอ. เปิดเผยภาย หลังการประชุมคณะอนุกรรม การบริหารการพัฒนาเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2563 โดยมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาความก้าวหน้าของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และจะมีการเสนอมีมติให้นำเสนอในการประชุม กพอ.โดยเร็วที่สุด
          ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดของโครงการดังกล่าวคือเมื่อวันที่ 13 เม.ย.2563 ทางกองทัพเรือไทย (ทร.) ที่เป็นหน่วยงาน เจ้าของโครงการ ได้มีการประ เมินและเจรจากับเอกชนที่ยื่นข้อเสนอ รวมถึงคัดเลือกผู้ที่ผ่านการประเมินแล้วเสร็จ โดยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ได้ส่งร่างสัญญาให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจ และล่าสุดได้มีการตรวจร่างสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งมีการนำเสนอที่ประชุม กบอ.เห็นชอบในวันที่ 27 เม.ย.นี้ และเตรียมเสนอให้กับ กพอ.เห็นชอบผลคัดเลือกและร่างสัญญา ก่อนที่จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและทำการลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะต่อไป โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาพัฒนาประมาณ 4 ปีครึ่ง ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2567
          ทั้งนี้ โครงการอื่นๆ ที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการพัฒนา สนาบินอู่ตะเภามี 6 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1) อาคารผู้โดย สารหลังที่สาม 2) ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน 3) ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) 4) เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 5) ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ และ 6) ศูนย์ฝึกอบรมการบิน โดยมั่นใจว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะเป็นโครงการสำคัญที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในประเทศ เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,640 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก โดยการ ลงทุนของโครงการรวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 290,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐได้ประโยชน์ คือภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 60,000 ล้านบาท
          นายคณิศกล่าวว่า ความ สำคัญของเมืองการบินภาค ตะวันออก อีอีซีได้วางยุทธศาสตร์ ให้เป็นเมืองที่มีภารกิจสำคัญ 3 ประการ คือ 1.เป็นสนามบิน กรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง 2.เป็น ศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมายโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ของอีอีซี และ 3.เป็นศูนย์กลางของมหานคร การบินภาคตะวันออก ที่จะครอบ คลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประ มาณ 30 กม. โดยรอบสนามบิน ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย
          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้ามาดำเนินงานในโครงการดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) (กลุ่มบีบีเอส) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Lead Firm) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน).

ที่มา:

คลิกเครื่องหมาย เพื่อเพิ่มลงตะกร้าเก็บทรัพย์ที่สนใจ หรือกดอีกครั้งเพื่อลบออก
คลิกเพื่อเลือก บ้านที่ต้องการแล้วกดปุ่ม "เปรียบเทียบ" ได้เลย